หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การเรียนการสอนครั้งที่ 3 ภาคเรียนที่ 1/2557

วันที่ 10 กันยายน 2557 ได้ฟังเพื่อนนำเสนอ-สรุปข่าวสาร 3 คน โดยอาจารย์ผู้สอนได้วิเคราะห์ข่าวของแต่ละคนเช่นเคย เพื่อเพิ่มความชัดเจนให้กับประเด็นของแต่ละข่าวมากขึ้น
วันนี้แต่ละกลุ่มได้นำเสนอ ส. 1 สืบค้น (Research) ที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าสินค้าของแต่ละอำเภอ โดยใช้ Mood Board เป็นสื่อประกอบในการนำเสนอ ซึ่งอาจารย์ผู้สอนได้ให้คำแนะนำแต่ละกลุ่มตามปัญหาของสินค้าที่แตกต่างกันไป เนื่องจากยังมีจุดบกพร่องในการศึกษาหาข้อมูลและคิดวิเคราะห์ โดยเนื้อหามีดังนี้

1. ทำความเข้าใจในการทำ Mood Board ใหม่
Mood Board คือ ตัวช่วยทำให้เกิดความเข้าใจได้รวดเร็วที่สุด เป็นการรวบรวมข้อมูลที่สรุปแล้ว รูปภาพที่ใช้ควรถ่ายให้สวยงามและแสดงการวิเคราะห์ส่วนประกอบต่างๆ ของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ (Product & Package Visual Analysis) ให้ชัดเจน

2. ข้อมูลที่ควรศึกษาเพิ่มเติม
ในการศึกษาข้อมูลของสินค้าต้องมีการทดลองสินค้า ลงพื้นที่ และติดต่อสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อให้การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในการนำเสนอ ส. 1 สัปดาห์นี้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้าและผู้ประกอบการยังไม่เพียงพอ แนะนำให้ลงพื้นที่และเข้าหาผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการในการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ที่เลือกมาพัฒนา


3. วิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็ง (Swot Analysis)
ผลวิเคราะห์ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการตามแบบสรุปผลการสัมภาษณ์และข้อมูลการออกแบบเบื้องต้นที่อาจารย์ผู้สอนได้แชร์ให้ใน Google Drive โดยเป็นการวิเคราะห์ร่วมกันระหว่างผู้บันทึกและผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิด Idea Concept และความเข้าใจไปในทางเดียวกัน และเพื่อผลิตผลงานการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สนองต่อความต้องการของทางผู้ประกอบการอย่างแท้จริง



ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ผู้สอนของ กลุ่ม 1 Star (ธรรมรส) มีดังนี้

1. ปัญหาหลักของสินค้า "ธรรมรส" คือ ภาพประกอบ/กราฟิก

2. พัฒนารูปแบบ: พัฒนาจากบรรจุภัณฑ์ที่มีอยู่ เนื่องจากใน Stock มีบรรจุภัณฑ์เดิมเหลืออยู่จำนวนมาก คิดหาวิธีต่างๆ เพื่อซ่อนภาพลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์เดิม เช่น การนำสติกเกอร์มาแปะทับ เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตเพิ่ม

3. ออกแบบพัฒนากล่องสำหรับใส่ผลิตภัณฑ์หรืออาจจะจัดสินค้าเป็น Set

4. ศึกษาการพิมพ์สติกเกอร์แต่ละชนิดที่สามารถนำมาใช้กับตัวบรรจุภัณฑ์ได้ อาจเป็นสติกเกอร์คุณภาพสูง เพื่อไม่เป็นการหลุดลอกได้ง่าย เนื่องจากเป็นสินค้าที่ต้องสัมผัสกับน้ำ

5. ออกแบบ Logo


6. ข้อมูลที่ต้องสอบถามเพิ่มเติมจากทางผู้ประกอบการ:
- ปริมาณของบรรจุภัณฑ์ที่เหลืออยู่ใน Stock
- ไฟล์ต้นฉบับของโลโก้ หากไม่มีให้ดราฟขึ้นมาใหม่
(อาจจะทำให้เส้นเท่ากันเพื่อง่ายต่อการพิมพ์)
- ไฟล์ภาพประกอบ (ถ้ามี) หากไม่มีให้ทำการถ่ายภาพและ Retouch
หรือใช้ลวดลายกราฟิกได้

7. สามารถขึ้นแบบ SketchUp/3D ของบรรจุภัณฑ์ได้เลย

การบ้าน

1. ทำรายงานสรุปผลการสืบค้นข้อมูล ส. 1 ตามรายละเอียดใบงานใน http://clarolinethai.info/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น