หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การเรียนการสอนครั้งที่ 7 ภาคเรียนที่ 1/2557

วันที่ 5 ตุลาคม 2557 อาจารย์ผู้สอนได้อธิบายถึงการใช้โปรแกรม SketchUp เบื้องต้น เป็นการสาธิตการขึ้นแบบ เพื่อให้เห็นจุดบอดของบรรจุภัณฑ์มากขึ้น มีรายละเอียดดังนี้

วิธีการหมุน
อาจารย์ผู้สอนได้อธิบายการส่งงาน (Artwork) ในโฟลเดอร์รายบุคคลที่สร้างไว้ใน Google Drive
การสอบกลางภาคในวันที่ 19 ตุลาคม 2557 มีรายละเอียดดังนี้:
1. สอบ SketchUp และขึ้น Artwork ด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator
2. ทำแบบทดสอบใน Claroline

การส่งงาน-จัดแสดงงานในวันสอบ มีรายละเอียดดังนี้:
1. กล่องบรรจุภัณฑ์แบบสมบูรณ์
- ควรทำการตัดสร้าง mock up ก่อนพิมพ์จริง เพื่อตรวจสอบความผิดพลาดของการพับกล่อง
- ลิ้นกล่องส่วนใหญ่จะมีขนาด 2 ซม.
2. อัพโหลดไฟล์ Artwork (Ai) ลง Google Drive:
- แยก layer สำหรับเส้นตัดพับ (Die-cut)
- เมื่อจัดพิมพ์เป็นไฟล์ภาพ (JPEG) ต้องตั้งค่า Resolution เป็น 300 dpi เพื่อความคมชัด
- ใส่/ระบุชื่อผู้ทำและควรมีรูปประกอบการทำงานจริง

การเรียนการสอนครั้งที่ 6 ภาคเรียนที่ 1/2557

วันที่ 28 กันยายน 2557 อาจารย์ผู้สอนได้อธิบายเกี่ยวกับการนำเสนอผลงานในรูปแบบงานกลุ่ม โดยได้ยกตัวอย่างบล็อคกลุ่ม Dimension ที่สร้างให้กับผู้ประกอบการ "กลุ่มแม่บ้านท่าทราย"http://baanthasai.blogspot.com/ มีข้อเสนอแนะดังนี้
1. ใส่คำอธิบายใต้ชื่อบล็อค "โครงการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อวิสาหกิจชุมชนจังหวัดชัยนาท โดยกลุ่ม Dimension"
2. การใส่ผลงานของแต่ละคน สามารถแยกได้โดยการสร้าง Tab ส่วนตัวของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดได้
3. ควรใส่ข้อมูลผู้ประกอบการให้ครบถ้วน
4. ส่งคำเชิญให้อาจารย์เป็นผู้เขียนร่วม (admin)


1. Packmage
http://www.packmage.com/
เว็บไซต์ที่รวบรวมแบบบรรจุภัณฑ์สำเร็จรูป โดยการใช้งานต้องทำการสมัครสมาชิกก่อน สามารถศึกษาดูแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อนำไปปรับใช้ในการขึ้นแบบบรรจุภัณฑ์ของตนเองได้


ที่มา : นายณัฐนนท์ ลาภนทีวิจิตร,2557

2. 3D Warehouse
https://3dwarehouse.sketchup.com/
เว็บไซต์ที่รวบรวมแบบจำลอง/โมเดลมากมายที่สร้างด้วยโปรแกรม SketchUp ผู้เรียนสามารถค้นหาหรือศึกษาดูรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่รุ่นก่อนๆได้ออกแบบไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการขึ้นแบบบรรจุภัณฑ์ต่อไป

การเรียนการสอนครั้งที่ 5 ภาคเรียนที่ 1/2557

วันที่ 21 กันยายน 2557 อาจารย์ผู้สอนได้อธิบายเกี่ยวกับการตอบ/วิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง อุปสรรค โอกาส (SWOT Analysis) ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ประเด็นคือ วิเคราะห์จากภายนอกและภายใน โดยได้อธิบายและยกตัวอย่างดังนี้
1. ภายนอก: โครงสร้างและกราฟิก
- จุดอ่อน: รูปแบบตัวอักษรที่ใช้ไม่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์
- จุดแข็ง: สินค้าได้รับรางวัล OTOP, เป็นเจ้าเดียวในจังหวัด, ใช้บรรจุภัณฑ์เหมาะสมกับตัวสินค้า, ตราสัญลักษณ์ใช้มานานแล้ว
2. ภายใน:
- อุปสรรค: ต้นทุนต่ำ, สินค้ายังไม่ได้อย. , คู่แข่งมีบรรจุภัณฑ์ที่ดีกว่า, (สามารถศึกษาได้จากผลิตภัณฑ์คู่แข่ง)
- โอกาส: ผลิตภัณฑ์มีวางตลาดมานานแล้ว

การเรียนการสอนครั้งที่ 4 ภาคเรียนที่ 1/2557

วันที่ 14 กันยายน 2557 ได้ฟังเพื่อนแปล-สรุปข่าวจำนวน 3 คน และ present จำนวน 2 กลุ่ม โดยอาจารย์ผู้สอนได้ให้ไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทสุขภาพและความงาม โดยแนะนำเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องดังนี้

1. สมุนไพรอภัยภูเบศร http://www.abhaiherb.com/
แบรนด์สินค้าประเภทสุขภาพและความงามยี่ห้อหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน โดยอาจารย์ผู้สอนให้ศึกษาดูการออกแบบบรรจุภัณฑ์และวิธีการขายหรือจุดขายของแบรนด์นี้
ที่มา : นายณัฐนนท์ ลาภนทีวิจิตร,2557

การเรียนการสอนครั้งที่ 3 ภาคเรียนที่ 1/2557

วันที่ 10 กันยายน 2557 ได้ฟังเพื่อนนำเสนอ-สรุปข่าวสาร 3 คน โดยอาจารย์ผู้สอนได้วิเคราะห์ข่าวของแต่ละคนเช่นเคย เพื่อเพิ่มความชัดเจนให้กับประเด็นของแต่ละข่าวมากขึ้น
วันนี้แต่ละกลุ่มได้นำเสนอ ส. 1 สืบค้น (Research) ที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าสินค้าของแต่ละอำเภอ โดยใช้ Mood Board เป็นสื่อประกอบในการนำเสนอ ซึ่งอาจารย์ผู้สอนได้ให้คำแนะนำแต่ละกลุ่มตามปัญหาของสินค้าที่แตกต่างกันไป เนื่องจากยังมีจุดบกพร่องในการศึกษาหาข้อมูลและคิดวิเคราะห์ โดยเนื้อหามีดังนี้

1. ทำความเข้าใจในการทำ Mood Board ใหม่
Mood Board คือ ตัวช่วยทำให้เกิดความเข้าใจได้รวดเร็วที่สุด เป็นการรวบรวมข้อมูลที่สรุปแล้ว รูปภาพที่ใช้ควรถ่ายให้สวยงามและแสดงการวิเคราะห์ส่วนประกอบต่างๆ ของผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ (Product & Package Visual Analysis) ให้ชัดเจน

2. ข้อมูลที่ควรศึกษาเพิ่มเติม
ในการศึกษาข้อมูลของสินค้าต้องมีการทดลองสินค้า ลงพื้นที่ และติดต่อสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อให้การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในการนำเสนอ ส. 1 สัปดาห์นี้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้าและผู้ประกอบการยังไม่เพียงพอ แนะนำให้ลงพื้นที่และเข้าหาผู้ประกอบการโดยตรง เพื่อศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ประกอบการในการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ที่เลือกมาพัฒนา


3. วิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็ง (Swot Analysis)
ผลวิเคราะห์ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการตามแบบสรุปผลการสัมภาษณ์และข้อมูลการออกแบบเบื้องต้นที่อาจารย์ผู้สอนได้แชร์ให้ใน Google Drive โดยเป็นการวิเคราะห์ร่วมกันระหว่างผู้บันทึกและผู้ประกอบการ เพื่อให้เกิด Idea Concept และความเข้าใจไปในทางเดียวกัน และเพื่อผลิตผลงานการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สนองต่อความต้องการของทางผู้ประกอบการอย่างแท้จริง

การเรียนการสอนครั้งที่ 2 ภาคเรียนที่ 1/2557

วันที่ 31 สิงหาคม 2557 อาจารย์ให้ศึกษาขั้นตอนการทำงาน โดยการทำงานเป็นกลุ่มและให้ทำงานกับผู้ประกอบการจริง โดยสามารถศึกษางานได้จากไดร์ของอาจารย์ที่แชร์ไว้ให้ ซึ่งจะมีตัวอย่างในการทำงานทั้งหมดไว้ให้ศึกษาเป็นตัวอย่าง


ต้องนำเสนองานในสัปดาห์ที่ 8 มีมูดบอร์ดงานขนาด A3 ต้องมีการเริ่มทำบัญชี และค่าใช้จ่ายในการทำงาน เพื่อดูรายรับ-รายจ่าย สินค้า

ที่มา : นายณัฐนนท์ ลาภนทีวิจิตร,2557 
อ้างอิงจาก : ผศ.ประชิด ทิณบุตร

วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การเรียนการสอนครั้งที่ 1 ภาคเรียนที่ 1/2557

     วันที่ 24 สิงหาคม 2557 อาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดและเว็บไซต์แหล่งข้อมูลที่จำเป็นในการศึกษาวิชาการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ และอธิบายการทำงานโดยสามารถเข้าไปศึกษาในเว็บบล็อกของอาจารย์ได้ที่ http://arti3314.blogspot.comและทำแบบสอบถามก่อนการเรียน



     นอกจากนี้อาจาร์ยยังให้ไปศึกษาผลงานตัวอย่างของอาจาร์ยที่ เว็บบล็อกการจัดการความรู้ การวิจัยเรื่องการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าการเกษตรของวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท ใช้เพื่อติดตามงานของอาจารย์ผู้สอนและหลักการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์อย่างมีขั้นตอน ที่ http://chainatotop.blogspot.com